บทที่ 5 คุณธรรมและจริยธรรมในการใช้ระบบสารสนเทศ

1. อาชญากรรมคอมพิวเตอร์คืออะไรจงอธิบาย
อาชญากรคอมพิวเตอร์ คือ ผู้กระทำผิดกฎหมายโดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เป็นส่วนสำคัญ มีการจำแนกไว้ดังนี้ 1.Novice เป็นพวกเด็กหัดใหม่(newbies)ที่เพิ่งเริ่มหัดใช้คอมพิวเตอร์มาได้ไม่นาน หรืออาจหมายถึงพวกที่เพิ่งได้รับความไว้วางใจให้เข้าสู่ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
2.Darnged person คือ พวกจิตวิปริต ผิดปกติ มีลักษณะเป็นพวกชอบความรุนแรง และอันตราย มักเป็นพวกที่ชอบทำลายทุกสิ่งที่ขวางหน้าไม่ว่าจะเป็นบุคคล สิ่งของ หรือสภาพแวดล้อม
3.Organized Crime พวกนี้เป็นกลุ่มอาชญากรที่ร่วมมือกันทำผิดในลักษณะขององค์กรใหญ่ๆ ที่มีระบบ พวกเขาจะใช้คอมพิวเตอร์ที่ต่างกัน โดยส่วนหนึ่งอาจใช้เป็นเครื่องหาข่าวสาร เหมือนองค์กรธุรกิจทั่วไป อีกส่วนหนึ่งก็จะใช้เทคโนโลยีเพื่อเป็นตัวประกอบสำคัญในการก่ออาชญากรรม หรือใช้เทคโนโลยีกลบเกลื่อนร่องร่อย ให้รอดพ้นจากเจ้าหน้าที่
4.Career Criminal พวกอาชญากรมืออาชีพ เป็นกลุ่มอาชญากรคอมพิวเตอร์ที่มีอยู่มาก กลุ่มนี้น่าเป็นห่วงมากที่สุด เนื่องจากนับวันจะทวีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ โดยจับผิดแล้วจับผิดเล่า บ่อยครั้ง
5. Com Artist คือพวกหัวพัฒนา เป็นพวกที่ชอบความก้าวหน้าทางคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์ส่วนตน อาชญากรประเภทนี้จะใช้ความก้าวหน้า เกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์ และความรู้ของตนเพื่อหาเงินมิชอบทางกฎหมาย
6.Dreamer พวกบ้าลัทธิ เป็นพวกที่คอยทำผิดเนื่องจากมีความเชื่อถือสิ่งหนึ่งสิ่งใดอย่างรุ่นแรง
7.Cracker หมายถึง ผู้ที่มีความรู้และทักษะทางคอมพิวเตอร์เป็นอย่างดี จนสามารถลักลอบเข้าสู่ระบบได้ โดยมีวัตถุประสงค์เข้าไปหาผลประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง มักเข้าไปทำลายหรือลบไฟล์ หรือทำให้คอมพิวเตอร์ใช้การไม่ได้ รวมถึงทำลายระบบปฏิบัติการ


อาชญากรรมคอมพิวเตอร์

อาชญากรคอมพิวเตอร์จะก่ออาชญากรรมหลายรูปแบบ ซึ่งปัจจุบันทั่วโลกจัดออกเป็น 9 ประเภท (ตามข้อมูลคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจร่างกฎหมายอาชญาญากรรมคอมพิวเตอร์)

1.การขโมยข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต ซึ่งรวมถึงการขโมยประโยชน์ในการลักลอบใช้บริการ
2.อาชญากรนำเอาระบบการสื่อสารมาปกปิดความผิดของตนเอง
3.การละเมิดสิทธิ์ปลอมแปรงรูปแบบ เลียนแบบระบบซอพต์แวร์โดยมิชอบ
4.ใช้คอมพิวเตอร์แพร่ภาพ เสียง ลามก อนาจาร และข้อมูลที่ไม่เหมาะสม
5.ใช้คอมพิวเตอร์ฟอกเงิน
6.อันธพาลทางคอมพิวเตอร์ที่เช้าไปก่อกวน ทำลายระบบสาราณูปโภค เช่น ระบบจ่ายน้ำ จ่ายไป ระบบการจราจร
7.หลอกลวงให้ร่วมค้าขายหรือลงทุนปลอม
8.แทรกแซงข้อมูลแล้วนำข้อมูลนั้นมาเป็น)ระโยชน์ต่อตนโดยมิชอบ เช่น ลักรอบค้นหารหัสบัตรเครดิตคนอื่นมาใช้ ดักข้อมูลทางการค้าเพื่อเอาผลประโยชน์นั้นเป็นของตน
9.ใช้คอมพิวเตอร์แอบโอนเงินบัญชีผู้อื่นเข้าบัญชีตัวเอง


ที่มา www.learners.in.th

2.อธิบายความหมายของ

         2.1 Hacker



แฮกเกอร์ คือ ผู้ค้นหาจุดอ่อนของเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือเครือข่าย แล้วลักลอบเข้าไปในระบบ เพื่อกระทำการบางอย่างที่ระบบไม่ได้เตรียมป้องกันไว้ ซึ่งมีแรงจูงใจในการกระทำมาจากผลประโยชน์ การประท้วง ท้าทาย หรือช่วยหาจุดบกพร่อง

2.2 Cracker
แคร็กเกอร์ (อังกฤษcracker) อาจหมายถึง
  • แคร็กเกอร์ (อาชญากร) การก่ออาชญากรรมทางโลกไซเบอร์ มีลักษณะคล้ายกกับแฮกเกอร์แต่แตกต่างกันตรงความคิดและเจตณา แฮกเกอร์ คือผู้ที่นำความรู้ในการแฮกไปใช้ในทางที่มีประโยชน์ ส่วนแครกเกอร์ คือผู้ที่นำความรู้ในการแฮกไปใช้ในการทำความผิด เช่น การขโมยข้อมูล การทำลายข้อมูล หรือแม้กระทั่งการครอบครองคอมพิวเตอร์คนอื่น ที่มา www.th.wikipedia.org
2.3  สแปม
สแปม (อังกฤษspam) คือชื่อเรียกของการส่งข้อความที่ผู้รับไม่ได้ร้องขอ ผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยส่วนมากจะทำให้เกิดความไม่พอใจต่อผู้รับข้อความ สแปมที่พบเห็นได้บ่อยได้แก่ การส่งสแปมผ่านทางอีเมล ในการโฆษณาชวนเชื่อ หรือโฆษณาขายของ โดยการส่ง อีเมลประเภทหนึ่งที่เราไม่ต้องการ ซึ่งจะมาจากทั่วโลก โดยที่เราไม่รู้เลยว่า ผู้ที่ส่งมาให้นั้นเป็นใคร จุดประสงค์คือ ผู้ส่งส่วนใหญ่ต้องการที่จะโฆษณา สินค้าหรือบริการต่าง ๆ ของบริษัทของตนเอง ซึ่งเป็นประเภทหนึ่งของเมลขยะซึ่งนอกจากจะทำให้ผู้รับรำคาญใจและเสียเวลาในการกำจัดข้อความเหล่านี้แล้ว สแปมยังทำให้ประสิทธิภาพการขนส่งข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตลดลงด้วย สแปมในรูปแบบอื่นนอกจาก อีเมลสแปม ได้แก่ เมสเซนเจอร์สแปม นิวส์กรุ๊ปสแปม บล็อกสแปมและเอสเอ็มเอสสแปม
การส่งสแปมเริ่มแพร่หลายเนื่องจากค่าใช้จ่ายในการส่งข้อความผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ มีค่าใช้จ่ายน้อยมากเมื่อเทียบการการส่งข้อความชักชวนทางอื่น เช่นทางจดหมาย หรือการโฆษณาทางสื่อต่างๆ ทำให้ผู้ส่งประหยัดค่าใช้จ่ายในการส่งข้อความเชิญชวน และในขณะเดียวกันกฎหมายเกี่ยวกับระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้องกับสแปมยังไม่ครอบคลุม จนกระทั่งเริ่มมีใช้ครั้งแรกปี พ.ศ. 2546 (ค.ศ. 2003) ในประเทศสหรัฐอเมริกา
ที่มา www.th.wikipedia.org                                                                                                      
2.4 ม้าโทรจัน
ม้าโทรจัน (อังกฤษTrojan horse) หมายถึง โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ถูกบรรจุเข้าไปในคอมพิวเตอร์ เพื่อลอบเก็บข้อมูลของคอมพิวเตอร์เครื่องนั้น เช่น ข้อมูลชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน เลขที่บัญชีธนาคาร หมายเลขบัตรเครดิต และข้อมูลส่วนบุคคลอื่น ๆ โดยส่วนใหญ่แฮกเกอร์จะส่งโปรแกรมเข้าไปในคอมพิวเตอร์เพื่อดักจับข้อมูลดังกล่าว แล้วนำไปใช้ในการเจาะระบบ และเพื่อโจมตีคอมพิวเตอร์, เซิร์ฟเวอร์, หรือระบบเครือข่ายอีกที ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในชื่อการโจมตีเพื่อ "ปฏิเสธการให้บริการ" (Denial of Services)
โปรแกรมม้าโทรจัน ถือเป็นโปรแกรมที่สอดคล้องกับการทำงานของคอมพิวเตอร์ ไม่มีคำสั่งหรือการปฏิบัติการที่เป็นอันตรายต่อตัวคอมพิวเตอร์ จึงไม่ถือว่าเป็นไวรัสคอมพิวเตอร์
ที่มา www.th.wikipedia.org

2.5 สปายแวร์Spyware คืออะไร
สปายแวร์ ก็คือ โปรแกรมเล็ก ๆ ที่ถูกเขียนขึ้นมาสอดส่อง (สปาย) การใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณ อาจจะเพื่อโฆษณาสินค้าต่าง ๆ สปายแวร์บางตัวก็สร้างความรำคาญเพราะจะเปิดหน้าต่างโฆษณาบ่อย ๆ แต่บางตัวร้ายกว่านั้น คือ ทำให้คุณใช้อินเตอร์เน็ทไม่ได้เลย ไม่ว่าจะไปเวบไหน ก็จะโชว์หน้าต่างโฆษณา หรืออาจจะเป็นเวบประเภทลามกอนาจาร พร้อมกับป๊อปอัพหน้าต่างเป็นสิบ ๆ หน้าต่าง
สปายแวร์พวกนี้มาติดเครื่องคุณอย่างไร?
ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่ ไม่เคยดูแลเครื่องของตัวเองเลย ไม่เคยป้องกัน ไม่เคยบำรุงรักษา ก็มักเกิดปัญหา เอาง่าย ๆ เหมือนการขับรถก็ต้องคอยดูแลรักษา ทำความสะอาด เปลี่ยนน้ำมันเครื่อง ฯลฯ แต่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่จะไม่รู้จักการบำรุงรักษาตรงนี้ ก็เลยต้องมานั่งกลุ้มใจ พวกสปายแวร์จะติดได้หลายทางแต่หลัก ๆ คือ
    1. เข้าเยี่ยมเวบไซท์ต่าง ๆ พอเวบไซท์บอกให้ดาวน์โหลดโปรแกรมก็ดาวน์โหลดตามที่เขาบอกโดยไม่อ่านว่าเป็นอะไร
    2. ดาวน์โหลดโปรแกรมฟรีที่เรียกว่า Freeware มาใช้ โปรแกรมฟรีนั้นมีใช้ก็ดี แต่ก็ควรดูให้ดีเพราะโปรแกรมฟรีหลายตัวจะมีสปายแวร์ติดมาด้วยเป็นของแถม ตัวอย่างเช่น โปรแกรม Kazaa Media Desktop ซึ่งเป็นโปรแกรมให้ผู้ใช้แลกเปลี่ยนไฟล์กันเหมือนกับโปรแกรม Napster ขณะนี้มีผู้ใช้โปรแกรม Kazaa เป็นล้าน ๆ คน เพราะสามารถใช้ดาวน์โหลดเพลง MP3 ฟรีได้ ซึ่ง Kazaa นั้น จะมีอยู่ 2 แบบ คือ แบบใช้ฟรี กับแบบเสียเงิน ถ้าเป็นแบบฟรี เขาจะแถมสปายแวร์มาด้วยกว่า 10 ตัว ..คิดดูแล้วกันว่าคุ้มไม๊
    3. เปิดโปรแกรมที่ส่งมากับอีเมล์ บางทีเพื่อนส่งอีเมล์มาให้พร้อมโปรแกรมสวยงาม ซึ่งเพื่อนเองก็ไม่รู้ว่ามีสปายแวร์อยู่ด้วย ก็ส่งต่อ ๆ กันไปสนุกสนาน เวลาใช้อินเตอร์เน็ทก็เลยมีหน้าต่างโฆษณาโผล่มา 80 หน้าต่างสมใจ
ทันทีที่ Spyware เข้ามาอยู่ในเครื่องเรา มันก็จะสำแดงลักษณะพิเศษของโปรแกรมออกมา คือ นำเสนอหน้าเว็บโฆษณาเชิญชวนให้คลิกทุกครั้งที่เราออนไลน์อินเทอร์เน็ต โดยมาในรูปต่างๆ กัน ดังนี้
    1. มี Pop up ขึ้นมาบ่อยครั้งที่เข้าเว็บ
    2. ทูลบาร์มีแถบปุ่มเครื่องมือเพิ่มขึ้น
    3. หน้า Desktop มีไอคอนประหลาดๆ เพิ่มขึ้น
    4. เมื่อเปิด Internet Explorer หน้าเว็บแรกที่พบแสดงเว็บอะไรก็ไม่รู้ ไม่เคยเห็นมาก่อน
    5. เว็บใดที่เราไม่สามารถเข้าได้ หน้าเว็บโฆษณาของ Spyware จะมาแทนที่
วิธีการป้องกันเพื่อไม่ให้ถูกโจมตีจากสปายแวร์
    1. ติดตั้งโปรแกรม Anti-Spyware ไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้ Anti-Spyware สามารถตรวจสอบค้นหาสิ่งแปลกปลอม (Spyware) ที่จะเข้าฝั่งตัวอยู่ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งโปรแกรม Anti-Spyware จะทำหน้าที่ตรวจสอบเป็นลักษณะเรียลไทม์เมื่อ Anti-Spyware ตรวจพบสปายแวร์ก็จะทำการเตือนให้ผู้ใช้ทราบและทำการลบสปายแวร์ออกจากเครื่องคอมพิวเตอร์โดยทันที
    2. ไม่ดาว์นโหลดไฟล์ข้อมูลหรือโปรแกรมจากเว็บไซต์ที่ไม่น่าเชื่อถือ ควรจะดาว์นโหลดจากเว็บไซต์ที่น่าเชื่อถือเท่านั้น
    3. เมื่อเข้าไปในเว็บไซต์ใดเว็บไซต์หนึ่งและพบหน้าจอตามตัวอย่างรูปต่อไปนี้ให้พิจารณาอ่านข้อความเพื่อตรวจสอบว่าระบุเงื่อนไขการใช้งานอย่างไรก่อนที่จะดำเนินการใดๆ ต่อไปหรือหากไม่แน่ใจว่าคืออะไรให้ทำการปิดหน้าจอเหล่านั้นโดยทันที (คลิกที่เครื่องหมาย x กากบาท)
Description

รูปตัวอย่างหน้าจอ POP-UP ที่ปรากฎขึ้นมากรณีที่เว็บไซต์ใดเว็บไซต์หนึ่ง
ต้องการ Install โปรแกรมโดยอัตโนมัติลงบนเครื่องคอมพิวเตอร์ วิธีการแก้ไขเมื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ติดหรือถูกสปายแวร์โจมตี
    1. ติดตั้งโปรแกรม Anti-Spyware เพื่อใช้ตรวจสอบค้นหาและลบสปายแวร์ออกจากตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งปัจจุบันมีโปรแกรม Anti-Spyware มากมายให้เลือกใช้งานโดยมีทั้งฟรีและมีค่าใช้จ่ายซึ่งขอยกตัวอย่าง Anti-Spyware ที่เป็นฟรีแวร์ เช่น Microsoft Windows AntiSpyware ผลิตโดยบริษัท Microsoft หรือ Lavasofts Ad-Aware SE Personal Edition
    2. ตรวจสอบ Update โปรแกรม Antivirus หรือระบบปฎิบัติการที่ใช้งานอย่างสม่ำเสมอเนื่องจากปัจจุบันมีการสร้างโปรแกรมประเภท Virus หรือ สปายแวร์ออกมาเผยแพร่ภายในเครือข่ายอินเทอร์เน็ตอยู่ตลอดเวลาทำให้บางครั้งหากการ Update หรือปรับปรุงโปรแกรม Antivirus หรือ Anti-Spyware ทำอย่างไม่สม่ำเสมอหรือนานๆครั้ง ก็อาจถูกโจมตีจาก Virus หรือ Spyware ได้เช่นกัน
ที่มา www.ccs.sut.ac.th

3.จงยกตัวอย่างกฏหมาย ICT  หรือ พรบ คอมพิวเตอร์มีอะไร
บ้างและบทลงโทร 5 อย่าง

กฎหมายคอมพิวเตอร์ กฎหมายIT


รอบรู้กฎหมายIT บนโลก Cyber

ตอนนี้ ที่ประเทศไทยออกพระ ราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 2550 โดยจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 18 กรกฏาคม 2550 ซึ่งเป็นเรื่องที่เจ้า ของเว็บ เว็บมาสเตอร์ และนักไซเบอร์ ต่างต้องรู้ไว้ จะได้เตรียมตัวและป้องกันเสียแต่เนิ่น ๆ

เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากในปัจจุบันระบบคอมพิวเตอร์ได้เป็นส่วนสำคัญของการประกอบกิจการและ การดำรงชีวิตของมนุษย์ หากมีผู้กระทำด้วยประการใด ๆ ให้ระบบคอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานตามคำสั่งที่กำหนดไว้หรือทำให้การทำงานผิด พลาดไปจากคำสั่งที่กำหนดไว้ หรือใช้วิธีการใด ๆ เข้าล่วงรู้ข้อมูล แก้ไข หรือทำลายข้อมูลของบุคคลอื่นในระบบคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ หรือใช้ระบบคอมพิวเตอร์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จหรือมี ลักษณะอันลามกอนาจาร ย่อมก่อให้เกิดความเสียหาย กระทบกระเทือนต่อเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของรัฐ รวมทั้งความสงบสุขและศีลธรรมอันดีของประชาชน สมควรกำหนดมาตรการเพื่อป้องกันและปราบปรามการกระทำดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๒๗ ก หน้า ๑๓) ในพระราชบัญญัติจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ หมวดความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ และหมวด อำนาจของเจ้าหน้าที่ แต่ ณ ที่นี้ จะขอกล่าวเพียงบางมาตราที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อผู้มีเว็บไซต์เป็นของตัวเอง เพื่อให้เว็บมาสเตอร์ และ เจ้าของเว็บไซต์ได้ระวังตัว จะได้ไม่เผลอกระทำผิดกฏหมายแบบไม่เจตนา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องการ รับ – ส่ง อีเมล เพราะในพระราชบัญญัตินี้มีระบุไว้ว่า

มาตรา ๑๑ ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมาย อิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่นโดยปกปิดหรือปลอมแปลงแหล่งที่มาของการส่งข้อมูล ดังกล่าว อันเป็นการรบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นโดยปกติสุข ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท

มาตรา ๑๐ ผู้ใด กระทำด้วยประการใดโดยมิชอบ เพื่อให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นถูกระงับ ชะลอ ขัดขวาง หรือรบกวนจนไม่สามารถทำงานตามปกติได้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ในกรณีถ้าเป็นการส่งอีเมล จะหมายถึงการส่งอีเมลที่แผงไวรัส โทรจัน หรือ เมลบอมบ์ (อีเมลที่แนบไฟล์ขนาดใหญ่มาก ๆ) เมื่อผู้รับเปิดอีเมลอ่านจะทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานสะดุด ช้าลง หรือทำให้เครื่องช้า แฮ้งค์ จนใช้งานไม่ได้ ครั้งต่อไปเมื่อคุณส่งเมล เช็คขนาดของไฟล์ที่แนบว่าใหญ่เกินไปมั้ย มีไวรัสอะไร หรือมีโปรแกรมที่น่าสงสัยติดไปด้วยหรือเปล่า เพราะหากก่อให้เกิดความเสียหายต่อประชาชน หรือ สร้างความเสียหายที่กระทบต่อความมั่นคง ระบบเศรษฐกิจ ของชาติ อัตราโทษจะเพิ่มสูงขึ้นอีกค่ะ ตรวจเช็คสักนิดก่อนส่งอีเมลนะคะ

มาตรา ๑๔ ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
(๑) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบาง ส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน
(๒) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความ ตื่นตระหนกแก่ประชาชน
(๓) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการ ก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา 
(๔) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ ที่มีลักษณะอันลามก และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้
(๕) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูล คอมพิวเตอร์ตาม (๑) (๒) (๓) หรือ (๔)
การส่งอีเมล หรือ การ Forward Mail ที่เข้าข่าย รูปโป๊ ภาพลามก อนาจาร ภาพตัดต่อ ข้อความที่ไม่เป็นจริง ข้อความทำลายชื่อเสียง หรือทำให้บุคคลอื่นเสียหาย ข้อความที่กระทบต่อความมั่งคงของชาติ ข้อความเหล่านี้ถือว่าผิดกฏหมาย นอกจากนี้หากไม่ใช้การ Forward Mail แต่เป็นการโพส ไว้ตามเว็บไซต์ต่าง ๆ ตามกระทู้ เว็บบอร์ด บล็อก (Blog) ยังเข้าข่ายกระทำความผิดตามมาตรา ๑๔ นี้ด้วย
นอกจากนี้หากท่านเป็น เจ้าของเว็บ เว็บมาสเตอร์ แล้วปล่อยให้เหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นที่เว็บของท่าน ท่านจะมีความผิดฐานรู้เห็น ยินยอม ให้เกิดข้อความลามก อนาจาร ข้อความกล่าวเท็จพาดพิงให้บุคคลอื่นเกิดความเสียหาย ข้อความท้าทายอำนาจรัฐ หรือข้อความที่ก่อให้เกิดความไม่สงบ ในมาตรา ๑๕ ด้วย

มาตรา ๑๕ ผู้ให้บริการผู้ใดจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการ กระทำความผิดตามมาตรา ๑๔ ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตน ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำควาผิด
ตามมาตรา ๑๔
เรื่องที่เจ้าของเว็บ เว็บมาสเตอร์ ควรต้องระวังในกฏหมาย พระ ราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 2550 ยังมีอะไรอีกบ้าง อ่านต่อเลยค่ะ
มาตรา ๑๖ ผู้ใดนำ เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็นภาพของผู้อื่น และภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติมหรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นใด ทั้งนี้ โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าการกระทำตามวรรคหนึ่ง เป็นการนำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยสุจริต ผู้กระทำ ไม่มีความผิด
ความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นความ ผิดอันยอมความได้
ถ้าผู้เสียหายในความผิด ตามวรรคหนึ่งตายเสียก่อนร้องทุกข์ ให้บิดา มารดา คู่สมรส หรือบุตรของผู้เสียหายร้องทุกข์ได้ และให้ถือว่าเป็นผู้เสียหาย
หมายถึง การนำภาพที่สร้างความเสื่อมเสีย เสียหาย ทำให้ผู้อื่นได้รับความอับอาย โดยภาพนั้นมาจากการตัดต่อ แล้วนำไปโพสไว้ตามเว็บบอร์ด เว็บไซต์ Forward mail ถือว่ามีความผิดตามมาตรา ๑๖ นี้
นอกจากนี้แล้วยังมีข้อควรระวังอีกข้อสำหรับเจ้าของเว็บรือ เว็บมาสเตอร์ ในการเก็บข้อมูลผู้เข้าใช้งานในระบบเว็บไซต์ของตนเอง ทั้งชื่อ – นามสกุล เลขบัตรประจำตัวประชาชน หมายเลข IP เพื่อให้สามารถ ระบุตัวผู้ใช้งานได้ไม่ต่ำกว่า 90 วัน ตามกฏหมายมาตราที่ ๒๖
มาตรา ๒๖ ผู้ให้บริการต้องเก็บรักษาข้อมูลจราจรทาง คอมพิวเตอร์ไว้ไม่น้อยกว่า เก้าสิบวันนับแต่วันที่ข้อมูลนั้นเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ แต่ในกรณีจำเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่ง ให้ผู้ให้บริการผู้ใดเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้เกินเก้าสิบวัน แต่ไม่เกินหนึ่งปีเป็นกรณีพิเศษเฉพาะรายและเฉพาะคราวก็ได้
ผู้ให้บริการจะต้องเก็บรักษาข้อมูลของผู้ ใช้บริการเท่าที่จำเป็นเพื่อให้สามารถระบุตัวผู้ใช้บริการนับตั้งแต่เริ่ม ใช้บริการและต้องเก็บรักษาไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันนับตั้งแต่การ ใช้บริการสิ้นสุดลง
ความในวรรคหนึ่งจะใช้กับผู้ให้บริการประเภทใด อย่างไร และเมื่อใด ให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษาผู้ให้ บริการผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรานี้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าแสนบาทดังนั้นจะทำอะไรกันก็ควรคิดๆกันบ้้างนะครับ ^^ เดี๋ยวจะหาว่าผมไม่เตือน
ที่มาhttp://laweasy.blogspot.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น